Nuttapon4321 http://nuttapon4321.siam2web.com/


Advertising Zone    Close

 

การรับเงินจาก AlertPay ด้วยวิธี Direct Deposit (เบิกผ่าน ธนาคารกรุงเทพ), ค่าธรรมเนียม, ประเภทบัญชี


 



การรับเงินจาก AlertPay ด้วยวิธี Direct Deposit (เบิกผ่าน ธนาคารกรุงเทพ)
วิธีแอดธ.กรุงเทพ สาขา New York สำหรับ ถอนเงิน alertpay

 




คุณสามารถรับเงินจาก AlertPay ด้วยวิธี Direct Deposit (โอนเงินเข้าบัญชี) แล้ว ซึ่งสะดวกสบาย

และรวดเร็วกว่าการรับเป็นเช็คมากมาย

ก่อนอื่น คุณต้องมีบัญชีีธนาคารกรุงเทพ เพราะธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารเดียวในเมืองไทย ที่

สามารถรับเงินจากอเมริกา ด้วยวิธีการ Direct Deposit ได้

ส่วนวิธีการ Add บัญชีธนาคารกรุงเทพ ใน AlertPay มีขั้นตอนดังนี้

 



1. คลิกที่ Profile แล้วเลือก Finacial - Bank Accounts (ตามรูป)


 

 2. เลือกประเทศ United States

 

 

 

 เลือก Bank Transfer(for deposit and withdrawal)

 

 

 3. ในช่อง Account Type ถ้าบัญชีเป็นประเภทออมทรัพย์ ให้เลือก Personal Savings 

ตามในรูป (ถ้าเป็นบัญชีกระแสรายวัน ก็เลือก Personal Checking) Account Number ใส่

เลขบัญชีของคุณเอง ข้อมูลอย่างอื่น ใส่ตามในรูป

 

 

 

 4. คลิก I Accept (โปรด ตรวจสอบก่อนคลิก!)



 

 5. เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นรอภายใน 3 วันทำการ ทาง AlertPay 

 

จะทำการโอนเงินทดสอบ จำนวนหนึ่งเป็นเงินดอลล่า จำนวน 0.XX $ 2 ครั้ง 

 


ให้เราโทรไปสอบถามที่ 1333 บัวหลวงโฟน ว่าเงินที่โอนมาทั้ง 2 ครั้ง มีค่าตรง XX เท่าไร 

 

จากนั้นนำค่า XX ทั้ง 2 ไปยืนยันกับทาง AlertPay โดยวิธียืนยันจะมีบอกในอีเมล์ที่ได้รับจาก 

 

AlertPay หลังจากเพิ่มบัญชีเสร็จแล้ว เมื่อยืนยันถูกต้องเป็นอันเสร็จสิ้น สามารถ Withdraw 

 

เข้าบัญชีได้ทันที

 

 

 

 

 าร ยืนยันโดยการนำเอาเงินขวัญถุงที่ได้ 2 จำนวนไปใ่ส่ในช่อง Deposit Sent

1.คลิก Profile. 
2.เลือก Financial, เลือก Bank Accounts. 
3.คลิกที่ Deposits Sent. 
4.ใ่ส่ตัวเลข 2 จำนวนลงไปในช่องว่าง และคลิกปุ่ม Submit ทำตามตัวอย่างข้างล่าง 
***ใส่จำนวนที่ได้มาตามความเป็น จริงเท่านั้น เพราะฉะนั้นบัญชีของคุณจะถูก Disable โดยโทรไปสอบถามบัวหลวงโฟน

ค่าใช้จ่ายในการรับเงิน ด้วยวิธี Direct Deposit มีดังนี้ 

1. ค่าธรรมเนียมโอนเงินจาก ธนาคารกรุงเทพ สาขานิวยอร์ก
- ยอดเงินโอน น้อยกว่า $50 ไม่คิดค่าธรรมเนียม
- ยอดเงินโอน $51-$100 คิดค่าธรรมเนียม $3
- ยอดเงินโอน $100.01-$2,000 คิดค่าธรรมเนียม $5 
- ยอดเงินโอน $2,000.01-$50,000 คิดค่าธรรมเนียม $10
- ยอดเงินโอน $50,000.01 ขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียม $20

2. ค่าธรรมเนียมการรับเงินโอนจากต่างประเทศ ของธนาคารกรุงเทพในประเทศไทย 200 บาท หรือ 
0.25% ของมูลค่าเป็นเงินบาทแต่ไม่เกิน 500 บาท

ระยะเวลาที่ใช้ สำหรับการโอนเงินมายังบัญชีของคุณ เร็วกว่าเช็คมากมายครับ คือประมาณ 3-5 วันทำการ ก็ได้เงินแล้ว รายละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซท์ของธนาคารกรุงเทพ

การรับเงินด้วยเช็ค

หากคุณ เลือกรับเงินด้วยเช็ค ทาง AlertPay จะส่งให้ทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่คุณระบุไว้ (ฉะนั้นต้องเช็คที่อยู่ที่กรอกลงไปให้ถูกต้อง ไม่งั้นอาจไม่ได้เช็ค) สำหรับค่าใช้จ่ายหลัก ๆ มีดังนี้

- ค่าทำเช็ค ฉบับละ 3 เหรียญ ทาง AlertPay จะหักจากยอดเงินที่เราเบิกไปเลย
- ค่าธรรมเนียมของธนาคารในเมืองไทย เมื่อคุณนำเช็คนั้นมาเข้าบัญชี 10 US$ + อากรสแตมป์ 3 บาท ต่อเช็ค 1 ฉบับ
ระยะเวลาการเรียกเก็บ ประมาณ 30-45 วัน รวมๆ แล้วก็ 12 US$ ต่อเช็ค 1 ฉบับ ฉะนั้นคุณควรพิจารณาให้ดี ว่าจำนวนเงินที่คุณจะเบิกออกมาแต่ละครั้ง ควรเป็นเท่าไหร่ รายละเอียดค่าธรรมเนียมของ AlertPay เช็คได้ที่นี่
https://www.alertpay.com/Fees.aspx



บัญชีประเภท Personal Starter VS Personal Pro

ข้อควรรู้ คือ หากบัญชี AlertPay ของคุณ มีเงินเข้ามาก ๆ จนเกินเดือนละ 400 เหรียญ หรือรวม

กันแล้วเกิน 2,000 เหรียญต่อปี บัญชีของคุณก็จะถูกอัพเกรดเป็น Personal Pro โดยอัตโนมัติ

ถึงตอนนั้นก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเมื่อรับเงินเข้ามาที่ AlertPay เท่ากับ 2.5% ของยอดเงินที่

รับ บวกกับอีก 0.25 เหรียญ (ในขณะที่ ถ้าเป็นบัญชี Personal Starter จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ส่วนนี้)

ยกตัวอย่างเช่น คุณรับเงินเป็นจำนวนเงิน 500 เหรียญ คุณจะมีค่าธรรมเนียมการรับเงินเข้า

AlertPay เท่ากับ (500 x 2.5%) + 0.25 = 12.75 เหรียญ 

 

คิดเป็นเงินไทย ที่คุณต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 400 บาท เมื่อรวมกับค่าทำเช็ค และค่าธรรมเนียม

ฝากเช็คเข้าที่ธนาคารไทย อีกประมาณเกือบ ๆ 400 บาท รวมแล้ว ค่าใช้จ่ายของคุณอยู่ที่เกือบ

800 บาท ทีเดียว

 

 


Online: 1 Visits: 4,014 Today: 2 PageView/Month: 25

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...